Ämnen:
Modersmål
·
Årskurs:
F
Modersmål, Trelleborg - slutgallrad · Senast uppdaterad: 15 december 2020
สาระการเรียนรู้
การอ่าน สะกดคำ ที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดถูกต้องเป็นพื้นฐานสำคัญในการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราที่พบในสาระการเรียนรู้อื่นและในชีวิตประจำวัน เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา กาและเขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ มาตราตัวสะกด แม่ กง เป็นตัวสะกดมีทั้งคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นและสระเสียงยาว คำในมาตราตัวสะกดแม่ กง เช่น กาง ชาง มั่ง นั่ง ปัง ช้าง ทาง ถาง หาฃ สั่ง
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนสามารถอ่านคำที่สะกดด้วยมาตราแม่ กงได้
๒. นักเรียนสามารถเขียนคำที่สะกดด้วยมาตราแม่ กง ได้
๓. นักเรียนสามารถนำเอาคำที่สะกดมาตราแม่ กง มาเขียนประโยคได้
กิจกรรมการเรียนการสอน
ชั่วโมง ๑
๑. ครูอธิบายเรื่อง
มาตราตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ประสมข้างหลังพยางค์ใน แม่ ก กา ทำให้แม่ ก กา กลายเป็น
แม่กง แม่กม แม่เกย แม่เกอว แม่กก แม่กบ แม่กน แม่กด ซึ่งมีทั้งหมด ๘ มาตรา
ตัวสะกดตรงมาตรใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี ๔ มาตรา คือ
แม่กง ใช้ ง สะกด
แม่กม ใช้ ม สะกด
แม่เกย ใช้ ย สะกด
แม่เกอว ใช้ ว สะกด
ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี ๔ มาตรา คือ
แม่กก ใช้ ก ข ค ฆ สะกด
แม่กบ ใช้ บ ป พ ฟ ภ สะกด
แม่กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ สะกด
แม่กด ใช้ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด
ชั่วโมงที่ ๒- ๓
๑. ครูหยิบบัตรคำให้นักเรียนดูแล้วให้นักเรียนอ่านฝึกอ่านคำ เช่น กุ้ง มุง ลุง ช้าง ป้าง ข้าง
๒. ครุถามนักเรียนว่าคำดังกล่าวสะกดตัวอะไร ให้นักเรียนสังเกตและรวมกันสรุป
๓. ครูถามนักเรียนว่าคำที่อ่านสะกดตัวสะกดอะไร
๔. ครูอธิบายคำที่สะกดด้วยมาตราแม่ กง คือ คำที่มี ง เป็นตัวสะกดมีทั้งคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นและเสียงยาส คำในมาตราตัวสะกดแม่ กง
๕. ให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างคำที่สะกดด้วย แม่ กง มีคำอะไร
๖. ครูเขียนคำไว้บนกระดานและให้นักเรียนฝึกอ่านคำดังกล่าว
๗. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด ในใบงาน
ชั่วโมงที่ ๔-๕
๑. ให้นักเรียนฝึกอ่านและสะกดคำแม่ กง ๑ พยางค์ คำมที่ใช้ฝึกอ่านและสะกดเขียนเป็นคำไม่มีรูปวรรณยุกต์ กำกับ ประสมด้วยสระอา สระอิ สระอิ สระอถ และสระอู จำนวน ๑๐ คำได้แก่ คำว่า ทาง หาง อิง ยิงดึง บึง ยุง ถุง จุง สุง
๒. ครูให้นักเรียนรู้จักตัวสะกด โดยการอธิบายการแจกลูกคำ เพิ่มตัวสะกดที ละตัว ฝึกอ่านทีละคำจากพยัญชระกับสระและตัวสะกดจากบัตรภาพ
กาง สะกดว่า กา- ง - กาง ลิง สะกดว่า ลิ - ง - ลิง เป็นต้น
๓. ให้นักเรียนฝึกหัดอ่านคำจากบัตรภาพเหมือนตัวอย่างจากข้อ ๒ จำนวนเรียน ๑๐ คำ ได้แก่ ทาง หาง ลิง บิง ยิง กึง ดึง บึง ยุง ถุง จูง สูง พร้อมให้ฝึกอ่านและสะกดคำเขียน
ชั่วโมงที่ ๖-๗
๑. ให้นักเรียนอ่านและเขียนสะกดคำแม่ กง ๑ พยางค์ เกง เวง แมง แรง แคง แตง จอง มอง ทอง ท้อง สอง ของ
๒. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดโยงคำกับความหมายของคำในใบงานที่แจกให้
๓.ครูนำนักเรียนศึกษาโครงสร้างของคำเน้นให้รู้จักตัวสะกด โดยอธิบายการแจกลูกคำเพิ่มตัวสะกดที ละตัว ฝึกอ่านทีละคำจากพยัญชนะกับสระ และตัวสะกดจากบัตรค าและบัตรอ่านสะกดคำ (ไม่ต้องแจกลูก พยัญชนะกับสระ เพราะถือว่าเรียนมาแล้ว)
ตัวอย่าง เบง สะกดว่า เบ – ง – เบง, เผง สะกดว่า เผ – ง – เผง จากนั้นให้นักเรียนฝึกอ่านสะกดค าจากบัตรกิจกรรมที่ ๒
๑. เกง สะกดว่า เก – ง – เกง
๒. เวง สะกดว่า เว – ง – เวง
๓. แมง สะกดว่า แม – ง – แมง
๔. แรง สะกดว่า แร – ง – แรง
๕. โตง สะกดว่า โต – ง – โตง
๖. โมง สะกดว่า โม – ง – โมง
๗. โถง สะกดว่า โถ – ง – โถง
๘. จอง สะกดว่า จอ – ง – จอง
๙. ทอง สะกดว่า ทอ – ง – ทอง
๑๐. ของ สะกดว่า ขอ – ง – ของ
๔. นำคำที่ฝึกอ่านมาเขียนลงบนกระดานดำให้นักเรียนอ่านพร้อมกันและอ่านทีละคน เมื่อนักเรียน อ่านได้ให้เขียนลอกคำลงในสมุด
๕.ให้นักเรียนทำแบบทดสอบการอ่านสะกดคำแม่กง ๑ พยางค์ จ านวน ๑๐ คำ คำที่ใช้ทดสอบ ได้แก่คำว่า เกง เวง แมง แรง โตง โมง โถง จอง ทอง ของ
การวัดและการประเมินผล
๑ ทดสอบการอ่านและสะกดเขียนคำทีละคนจากแบบทดสอบ
๒ ตรวจแบบทดสอบ
๓. แบบทดสอบการอ่านและสะกดเขียนคำ
๔. ใบงาน
สื่อการเรียนการสอน
๑.ใบความรู้
๑.๑ เพลงมาตรา กง
๑.๒ บัตรเนื้อหามาตราตัวสะกด
๒. บัตรคำและบัตรสะกดคำ อย่างละ ๑๐ บัตร
๓. บัตรกิจกรรมการอ่านสะกดคำที่ ๒
๔. แบบทดสอบการอ่านและสะกดเขียนคำที่ ๒
๕. กระเป๋าผนังสำหรับเสียบบัตรคำและบัตรอ่านสะกดคำ
Innehåller inga läroplanspunkter
Innehåller inga uppgifter